วันจันทร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2557

มาทำความรู้จักกับ ฟิล์ม (Film)

       ฟิล์มเป็นหัวใจสำคัญของการถ่ายภาพทุกประเภท เพราะฟิล์มเป็นสิ่งรองรับแสงและทำปฏิกริยาจนเกิดเป็นภาพถ่ายตามที่เราต้อง การ ผู้ถ่ายภาพจะพบว่า ในปัจจุบันฟิล์มแต่ละยี่ห้อได้ผลิตออกมาให้เลือกใช้มากมายหลายรุ่น การที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะฟิล์มถ่ายภาพแต่ละรุ่นแต่ละแบบมีคุณสมบัติในการ สร้างภาพที่แตกต่างกันนั่นเอง ในการถ่ายภาพจึงจำเป็นต้องเลือกใช้ฟิล์มให้ถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์ของการ ถ่ายภาพ โดยจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้

โครงสร้างของฟิล์ม
       ฟิล์ม เป็นส่วนสำคัญในการบันทึกภาพ ประกอบด้วยชั้นของเยื่อไวแสงที่เคลือบไว้บนฐานรองรับ ซึ่งอาจเป็นอาซีเตท พลาสติคใส หรือกระจก โครงสร้างของฟิล์มประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้

ส่วนที่เป็นฐานรองรับเยื่อไวแสง(Support)
       สมัยก่อนใช้เซลลูลอยด์ไนเตรท (Cellulosenitrate) ซึ่งติดไฟได้ง่าย ต่อมาได้ใช้โพลีเอธิลีนเทเรพธาเลต โพลีเอสเตอร์ (Polyethylene terepthalate polyester) แทน

ส่วนที่เป็นเยื่อไวแสง (Emulsion)
       สารเคมีที่สำคัญในการประกอบเป็นเยื่อไวแสงของฟิล์มถ่ายภาพคือ เกลือเงินเฮไลต์ (Silver halide) เช่น เงินคลอไรด์ (Silver chloride) เงินโบรไมต์ (Silver bromide) และเงินไอโอไดต์ (Silver iodide) ก่อนฉาบสารไวแสง บนฐานรองรับจะมีชั้นของเยลาตินซึ่งเป็นวัสดุเหนียว สกัดจากเขาและกระดูกสัตว์คั่นอยู่ก่อน เพื่อให้สารไวแสงยึดแน่นกับฐานรองรับ เรียกเยลาตินชั้นนี้ว่า Subbing layer และเมื่อฉาบสารไวแสงบนฐานรองรับแล้ว จะใช้เยลาตินฉาบที่ผิวบนสุดอีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันการถูกขีดข่วน ซึ่งเรียกเยลาตินชั้นบนสุดนี้ว่า Nonstress supercoat ส่วนที่เป็น ด้านหลังของฟิล์ม จะฉาบด้วยเยลาตินผสมกับสีอินทรีย์ เพื่อป้องกันการโค้งงอ เนื่องจากการเปียกและการแห้งของเยื่อไวแสงและของเยลาติน นอกจากนั้นยังทำหน้าที่ป้องกันการเกิด (Halation) คือ การสะท้อนกลับหมดของแสงที่ผิวล่างของฐานรองรับ ทำให้เกิดวงกลมสว่างขึ้นโดยรอบภาพของจุดกำเนิดแสง

ประเภทของฟิล์ม
        ฟิล์มที่ใช้ในการถ่ายภาพโดยทั่วไป อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ ฟิล์มถ่ายภาพขาวดำ และฟิล์มถ่ายภาพสี

ฟิล์มถ่ายภาพขาว-ดำ (Black and white film) แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ

filmBlackWhite1
ฟิล์มเนกาทีฟ (Negative film) คือ ฟิล์มขาว-ดำที่ใช้ถ่ายภาพโดยทั่วไป มีเยื่อไวแสงซึ่งให้สีตรงกันข้ามกับสีของวัตถุ หลังจากถ่ายภาพไปแล้ว นำฟิล์มไปผ่านกระบวนการล้างฟิล์ม ลักษณะของภาพจะเป็นเนกาทีฟ คือ ขาวเป็นดำ และดำเป็นขาว เมื่อนำฟิล์มไปอัดขยายลงบนกระดาษอัดภาพ จะได้ภาพที่มีสีตรงกับความเป็นจริงของ

filmBlackWhite2
ฟิล์มโพสิทิฟ (Positive film) เป็นฟิล์มขาว-ดำ ใช้สำหรับ Copy จากฟิล์มเนกาทีฟให้เป็นฟิล์มโพสิทีฟหรือสไลด์ขาว-ดำ

filmBlackWhite3
ฟิล์มริเวอร์ซัล (Reversal film) คือ ฟิล์มประเภทสไลด์ เป็นฟิล์มโปร่งใส เมื่อถ่ายภาพแล้วนำไปผ่านกระบวนการล้างฟิล์ม จะได้ภาพที่มีลักษณะเหมือนธรรมชาติ
ฟิล์มสี (Color film) แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดเช่นเดียวกัน ได้แก่
film2
ฟิล์มสีเนกาทึฟ(Color negative film) เป็นฟิล์มสีที่ใช้ถ่ายภาพโดยทั่วๆ ไป หลังจากถ่ายภาพแล้ว นำไปผ่านกระบวนการล้างฟิล์ม แล้วนำไปอัดขยายลงในกระดาษอัดภาพ จึงจะได้ภาพที่มีสีตรงกันตามความเป็นจริงของวัตถุที่ถ่าย
ฟิล์มโพสิทีฟ (Color positive film) เป็นฟิล์มที่ใช้สำหรับ Copy จากฟิล์มเนกาทีฟเป็นฟิล์มโพสิทีฟ คือสไลด์สี

ฟิล์มริเวอร์ซัล (Color reversal film) เป็นฟิล์มสีที่เมื่อนำไปถ่ายภาพ แล้วผ่านกระบวนการล้างฟิล์มแล้ว จะได้ภาพโปร่งใสที่มีสีตรงตามความเป็นจริงของวัตถุ หรือที่เรียกว่าฟิล์มสีสไลด์นั่นเอง

ความไวแสงของฟิล์ม (Film speed)
เยื่อ ไวแสงของฟิล์มจะประกอบไปด้วยเกลือเงิน ซึ่งเมื่อถูกแสงก็จะเกิดปฎิกริยาเปลี่ยนเป็นเงินและสร้างเป็นเงาแฝง เม็ดเกลือเงินนี้กระจัดกระจายในเยื่อไวแสง ทำให้ฟิล์มทำปฎิกริยากับแสงอย่างรวดเร็ว ความไวแสงของฟิล์มนี้เรียกว่า ความไวแสงของฟิล์ม (Film speed) ฟิล์มที่มีความไวแสงช้าจะมีเกลือเงินฉาบอยู่บางๆ และมีขนาดเม็ดเกลือเงินเล็กๆ ทำให้ เนื้อของฟิล์ม (Grain) ละเอียด ส่วนฟิล์มที่มีความไวแสงสูงจะมีเม็ดเกลือเงินใหญ่กว่า ทำให้เนื้อของฟิล์มหยาบกว่าฟิล์มที่มีความไวแสงช้า ซึ่งสามารถแบ่งความไวแสงของฟิล์มออกได้เป็น 4 ระดับ คือ

ฟิล์มที่มีความไวแสงต่ำ (Low speed film)
ได้แก่ ฟิล์มที่มีความไวแสงฟิล์มประมาณ ISO 25-64 ฟิล์มประเภทนี้จะฉาบเยื่อไวแสงไว้บางๆ และมีเม็ดเกลือเงินขนาดเล็ก ทำให้เนื้อของฟิล์ม (Grain) ละเอียด ให้ความคมชัดของรายละเอียดต่างๆ ในการถ่ายภาพได้ดีมาก เหมาะสำหรับการถ่ายภาพในที่ๆมีแสงสว่างมาก สามารถนำไปฟิล์มไปอัดขยายภาพขนาดใหญ่ได้เป็นอย่างดี

ฟิล์มที่มีความไวแสงปานกลาง (Normal or Medium speed film)
ได้แก่ฟิล์มที่มีความไวแสงฟิล์มประมาณ ISO 80-125 เหมาะสำหรับถ่ายภาพทั่วๆไป ในที่ๆมีแสงสว่างปานกลาง เนื้อของฟิล์มละเอียดพอสมควร ให้ความคมชัดของรายละเอียดต่างๆ ในการถ่ายภาพได้ดี

ฟิล์มที่มีความไวแสงสูง (High or fast speed film)
ได้แก่ ฟิล์มที่มีความไวแสงฟิล์มประมาณ ISO 160-400 มีคุณภาพของเนื้อเกรนฟิล์มค่อนข้างหยาบ ไม่เหมาะที่จะนำฟิล์มไปขยายภาพให้มีขนาดใหญ่มากๆ เพราะเกรนของภาพจะแตก ฟิล์มที่มีความไวแสงฟิล์มสูงจะทำปฎิกริยากับแสงได้เร็วและได้รับแสงมาก จึงเหมาะสำหรับการถ่ายภาพในที่มีแสงสว่างน้อย

ฟิล์มที่มีความไวแสงสูงพิเศษ (Ultra fast speed film)
เป็นฟิล์มที่ผลิตขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ มีความไวแสงสูงตั้งแต่ ISO 1000 ขึ้นไป เหมาะสำหรับการนำไปถ่ายภาพในที่ที่มีแสงน้อย หรือต้องการถ่ายภาพเพื่อแสดงเนื้อของภาพหรือต้องการหยุดการเคลื่อนที่เร็วๆ ขณะใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงมากๆ และได้สภาพแสงที่ถูกต้อง
ค่าความไวแสง ของฟิล์มนี้ บริษัทผู้ผลิตฟิล์มจะพิมพ์บอกมาให้ไว้ที่กล่องหรือฟิล์มหรือสลากฟิล์ม โดยมีหน่วยใช้กันหลายระบบ เช่น ระบบอเมริกา คือ ASA (American Standards Association) และระบบสากลแบบใหม่คือ ISO (International Standards Organization) มีอัตราความไวแสงต่อหน่วยเท่ากับหน่วย ASA หน่วยที่ใช้กับฟิล์มเยอรมัน คือ DIN (Deutsch Industrie Norm) อีกระบบหนึ่งเป็นของประเทศรัสเซียคือ GOST (Gosudurstvenny of Standart) ใช้อัตราความไวแสงเดียวกับระบบ ASA เป็นต้น
ตัวเลขกำหนดค่าความไวแสง ของฟิล์มมากแสดงว่า ฟิล์มมีความไวแสงสูงหรือมาก ตัวเลขน้อยแสดงว่ามีความไวแสงต่ำหรือน้อย ค่าของความไวแสงที่แตกต่างกันนี้มีผลต่อการเลือกขนาดช่องรับแสงและความเร็ว ชัตเตอร์ในการถ่ายภาพเป็นอย่างมาก ฟิล์มที่มีความไวแสงมากจะไวต่อแสงได้เร็วและมากกว่าฟิล์มที่มีความไวแสงน้อย ในสภาพแสงแบบเดียวกัน
ดังนั้นในการเลือกขนาดช่องรับแสงหรือความเร็ว ชัตเตอร์ จึงต้องคำนึงถึงความไวแสงของฟิล์มด้วย นอกจากนี้ฟิล์มที่มีความไวแสงต่างกัน ยังมีผลทำให้เนื้อของฟิล์มต่างกันด้วยคือ ฟิล์มที่มีความไวแสงสูง เนื้อของฟิล์มจะหยาบและมีความตัดกันของสี (Contrast) น้อย ส่วนฟิล์มที่มีความไวแสงต่ำ เนื้อของฟิล์มจะละเอียดและมีความตัดกันสูง
ด้วย เหตุนี้ก่อนการถ่ายภาพทุกครั้งจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการปรับค่าความ ไวแสงของฟิล์ม ให้ตรงกับค่าความไวแสงของฟิล์มที่เลือกใช้ เพื่อให้ได้ภาพที่มีสภาพของแสงที่สมบูรณ์ที่สุด

การทำงานของฟิล์ม
       หลังจากที่ฟิล์มถูกฉายแสง (Exposed to light) ในปริมาณที่พอเหมาะ ภาพของวัตถุจะถูกบันทึกไว้ในเยื่อไวแสงในลักษณะของภาพแฝง (Latent image) ซึ่งเป็นภาพที่ยังมองไม่เห็น จนกว่าจะนำไปผ่านกระบวนการล้างฟิล์ม เมื่อนำฟิล์มที่ผ่านน้ำยาสร้างภาพ (Developer) เฉพาะบริเวณฟิล์มที่ถูกแสงจะเปลี่ยนไป ทำให้เกิดภาพของเงินสีดำ ส่วนบริเวณฟิล์มที่ไม่ถูกแสงยังคงมีเงินเฮไลต์ ซึ่งยังคงไวต่อแสงอยู่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในน้ำยาสร้างภาพ ดังนั้นจึงต้องนำฟิล์มไปล้างต่อในน้ำยาคงสภาพ (Fixer) ที่จะทำให้ภาพคงตัว โดยมีไฮโปหรือโซเดียมไธโอซัลเฟตเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ
น้ำยานี้จะทำ ปฎิกริยากับเงินเฮไลต์ ทำให้เงินเฮไลต์หลุดออกมาจากฟิล์ม คงเหลืออยู่แต่ภาพเงินสีดำ ซึ่งเป็นภาพของวัตถุที่บันทึกมา ส่วนใดจะมีสีดำมากหรือน้อย ก็จะขึ้นอยู่กับปริมาณของแสงที่ได้รับมา ฉะนั้นลักษณะของภาพที่เกิดในฟิล์มจึงมีส่วนที่มีสีดำทึบบ้าง สีจางเป็นสีเทาบ้าง
ความเข้มของสีในฟิล์มนี้จะมีลักษณะกลับกันกับ วัตถุที่เป็นจริง เช่น ถ้าวัตถุมีสีดำ ในฟิล์มจะใสสว่างขาว และถ้าวัตถุมีสีขาว ในฟิล์มจะมีสีดำทึบ จึงเรียกฟิล์มนี้ว่า ฟิล์มเนกาทีฟ (Nagative) เมื่อนำฟิล์มนี้ไปอัดขยายบนกระดาษอัดภาพ จะได้สีที่ภาพกลับกันอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นภาพจริงเหมือนวัตถุที่ถ่ายมา เรียกว่า ภาพโพสิทีฟ (Positive)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น