วันจันทร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2557

ประวัติของกล้องถ่ายภาพ


SP-PhotoPrinciple
       วิวัฒนาการของกล้องถ่ายภาพเริ่มจากมีผู้สังเกตุเห็นภาพเหมือนในลักษณะกลับ หัวบนผนังภายในห้องที่ทึบและอับแสง ภาพดังกล่าวเกิดจากแสงของภาพวิวภายนอกลอดผ่านรูเล็กๆ ที่ผนังห้องไปก่อเกิดภาพเหมือนบนผนังอีกด้านที่อยู่ฝั่งตรงข้ามของห้อง ต่อมาได้มีการนำหลักการดังกล่าวมาประดิษฐ์เป็นกล้องออบสคิวรา (Camera Obscura) คำว่า "camera" มีความหมายว่า "ห้อง" ส่วน "Obscura" มีความหมายว่า "ความมืด" ในปีค.ศ.1558 นาย Giovanni Battista della Porta ได้เขียนบทความแนะนำให้ใช้กล้องออบสคิวรา เป็นเครื่องมือในการวาดภาพ
       Johannes Zahn (1641–1707) ท่านได้ออกแบบกล้องออบสคิวราแบบพกพาไว้หลายแบบ และยังมีการใช้กระจกติดไว้ด้านหลังของกล้องสะท้อนแสงขึ้นไปปรากฏภาพที่ด้าน บนของกล้อง ทำให้ภาพที่ได้ไม่กลับหัวอีกต่อไป ประจวบกับในช่วงคริสตวรรษที่ 16 ได้มีการประดิษฐ์กล้องส่องทางไกล จึงมีการนำเลนส์มาใส่ที่ช่องรับแสงแทนรูเข็มทำให้ได้ภาพที่สว่างและคมชัด ขึ้น

SP-Obscura2 
กล้องออบสคิวรา
       ในปีค.ศ. 1814 ชาวฝรั่งเศสชื่อ Joseph Nicéphore Niépce ได้ทดลองนำสาร silver chloride เคลือบลงบนกระดาษมารับภาพในกล้องออบสคิวรา โดยเปิดรับแสงอยู่นานถึง 8 ชั่วโมง กระดาษดังกล่าวมีภาพปรากฏขึ้นแต่สามารถอยู่ได้สักพักแล้วก็จางหายไป แม้กระนั้นก็ถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญต่อการพัฒนาเทคโนโลยีการถ่ายภาพ
       ในปีค.ศ. 1837 ชาวฝรั่งเศสชื่อ Louis Jacques Mandé Daguerre ผู้เป็นหุ้นส่วนกับนาย Niépce ได้ทำการพัฒนาวิธีการสร้างภาพต่อจากนาย Niépce เขาสามารถทำการบันทึกภาพให้อยู่คงทนได้สำเร็จอีกทั้งใช้เวลาในการรับแสงน้อย กว่า 30 นาที วิธีการของนาย Daguerre เรียกว่า "Daguerreotype"


กล้อง Daguerreotype
กล้อง Daguerreotype
       ในปีค.ศ. 1841 นาย William Henry Talbot ได้พัฒนาระบบที่ชื่อ Calotype โดยสร้างภาพจากการบันทึกให้เป็นภาพกลับสี (Negative Image ขณะนั้นยังเป็นภาพสีขาวกับดำอยู่) จากนั้นนำภาพที่ได้มาทำการสำเนาได้เป็นภาพสีเหมือน (Positive Image) ซึ่งวิธีการนี้สามารถทำสำเนาจากภาพต้นฉบับได้หลาย ๆ ชุด ทั้งนาย Daguerre และนาย Talbot ต่างก็ใช้กล้องออบสคิวราแบบติดเลนส์ด้านหน้าซึ่งสามารถเลื่อนปรับระยะได้ เพื่อหาระยะชัดของภาพ ส่วนแผ่นรับภาพจะติดไว้ด้านหลังที่ช่องมองภาพ
       ในปีค.ศ. 1843 ได้มีการนำภาพถ่ายมาใช้ในการโฆษณาครั้งแรกที่เมืองฟิลาเดลเฟีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
       ในปีค.ศ. 1851 Frederick Scott Archer ได้คิดค้นระบบที่มีชื่อเรียกว่าระบบ Collodion โดยใช้แผ่นรับภาพแบบแห้ง ซึ่งใช้เวลาเพียง 2 ถึง 3 วินาทีในการบันทึกภาพในสภาพแสงปกตินอกอาคาร ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเองก็มีการทดลองบันทึกภาพถ่ายใต้น้ำด้วย
       ในปีค.ศ. 1859 มีการจดสิทธิบัตรกล้องถ่ายภาพแบบ Panorama
       ในปีค.ศ. 1871 นาย Richard Leach Maddox ได้คิดค้นแผ่นรับภาพแบบแห้งโดยใช้สารเจลาตินซึ่งมีชื่อเรียกระบบนี้ว่า ระบบ Gelatin Dry Plate Silver Bromide แผ่นรับภาพชนิดนี้ทำให้ช่างถ่ายภาพไม่จำเป็นต้องชะโลมด้วยน้ำยาเคมีเพื่อทำ การล้างภาพทันทีหลังจากบันทึกภาพเสร็จเหมือนกรรมวิธีในระบบก่อนหน้านี้ ในช่วงท้ายของทศวรรษ 1870 ความเร็วในการบันทึกภาพเหลือเพียง 1 ใน 25 วินาที


Gelatin Dry Plate Silver Bromide 
Gelatin Dry Plate Silver Bromide
       ในปีค.ศ. 1880 นาย George Eastman ได้ก่อตั้งบริษัท Eastman dry plate สี่ปีให้หลังทางบริษัทได้ประดิษฐ์แผ่นรับภาพทำจากกระดาษทำให้โค้งงอได้เป็น ที่มาของคำว่า "ฟิล์มถ่ายภาพ (Photographic Film)"
       ในปีค.ศ. 1888 บริษัท Eastman ได้ประดิษฐ์ฟิล์มแบบเป็นม้วนทั้งยังประดิษฐ์กล้องถ่ายภาพแบบประหยัดใช้ชื่อ ว่า "Kodak" ตัวกล้องมีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมไม่มีการปรับระยะชัดและมีความเร็วในการ รับแสงตายตัวอีกทั้งได้ทำการเปลี่ยนฟิล์มแบบกระดาษเป็นแบบเซลลูลอยด์ (Celluloid)
       ในปีค.ศ. 1889 ผู้ใช้กล้อง Kodak เมื่อถ่ายภาพจนหมดม้วนก็จะนำฟิล์มมาส่งให้บริษัท Kodak เพื่อเป็นผู้จัดทำขบวนการสร้างภาพ ต่อมาในปีค.ศ. 1900 บริษัทยังได้ออกกล้องรุ่นใหม่มีชื่อว่า "Brownie" เป็นกล้องราคาประหยัดและได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง กล้อง Brownie ออกมาอีกหลายรุ่น บางรุ่นยังมีจำหน่ายจนสิ้นทศวรรษ 1960 ผลการประดิษฐ์ฟิล์มม้วนของ Kodak ยังเป็นก้าวสำคัญในการประดิษฐ์กล้องถ่ายภาพยนต์ของนาย Thomas Edison's ในปีค.ศ. 1891


กล้อง Kodak
กล้อง Kodak
       ในปีค.ศ. 1913 นาย Oskar Barnack จากสถาบัน Ernst Leitz Optishe Werke ได้มีการประดิษฐ์ต้นแบบกล้อง 35 มม. และผลิตออกจำหน่ายในปีค.ศ. 1925 ใช้ชื่อกล้องว่า "Leica I" กล้อง 35 มม.ได้เป็นที่นิยมเพราะขนาดกระทัดรัด และฟิล์มที่ใช้ได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพสูงขึ้นเรื่อยๆ เป็นผลให้ผู้ผลิตกล้องต่างก็ลงมาแข่งขันในตลาดนี้

กล้องจำลองต้นแบบ Leica I
กล้องจำลองต้นแบบ Leica I
       ในปีค.ศ. 1927 บริษัทไฟฟ้า General Electric ได้ประดิษฐ์หลอดไฟแฟลชใช้สำหรับถ่ายภาพในพื้นที่ที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ ซึ่งก่อนหน้านี้การให้แสงสว่างทำได้โดยใช้ผงเคมีทำปฏิกริยากันจนเกิดแสงจ้า ซึ่งถูกคิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน
       ในปีค.ศ. 1928 นาย Franke & Heidecke Roleiflex ได้นำเสนอกล้อง Rolleiflex เป็นกล้องขนาดเหมาะกับการพกพาใช้ฟิล์มขนาด 120 ประกอบด้วยเลนส์สองชุด ชุดหนึ่งใช้สำหรับบันทึกภาพ อีกชุดหนึ่งใช้กระจกสะท้อนให้เกิดภาพบนกระจกฝ้าสำหรับมองภาพ เรียกว่า กล้องระบบสะท้อนภาพเลนส์คู่ (Twin-lens Reflex Cameras เรียกย่อ ๆ ว่า TLR) ในปีค.ศ. 1933 นาย Ihageen Exakgta ได้ออกกล้องระบบสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว (Single-lens Reflex Camera เรียกย่อๆ ว่า SLR) กล้องดังกล่าวใช้ฟิล์ม 120 ความเป็นจริงในยุคนั้นมีการผลิตกล้อง TLR และ SLR อยู่ก่อนแล้ว แต่กล้องของ Rolleiflex กับ ของ Exakgata มีขนาดกระทัดรัดพกพาสะดวก จึงเป็นที่นิยมมากกว่า และอีก 3 ปีให้หลัง Kine Exakta ได้ออกกล้อง SLR ที่ใช้ฟิล์มขนาด 35 ม.ม. ซึ่งเป็นแบบที่สามารถทำตลาดได้ดี ทำให้มีผู้ผลิตกล้องประเภทนี้ออกมาเป็นจำนวนมาก
      ในปีค.ศ. 1947 กล้อง Duflex ได้มีการใช้ปริซึมห้าเหลี่ยม (Pentaprism) ในการสะท้อนภาพทำให้มีช่องมองภาพอยู่ด้านหลังของกล้องแทนที่ดูจากด้านบน เหมือนกล้องอื่นๆ ในยุคนั้นช่วงเวลาเดียวกันนี้เอง ได้กำเนิดกล้อง Hasselblad 1600F ซึ่งถือเป็นมาตรฐานสำหรับกล้อง SLR ขนาดกลางซึ่งใช้ฟิล์ม 120


กล้อง Rolleiflex แบบ TLR                                  กล้อง Exakta A, 2nd version,
       ในปีค.ศ. 1935 บริษัท Eastman Kodak ได้วางจำหน่ายฟิล์มสไลด์สี "Kodachrome" ซึ่งให้สีสรรที่สวยสดเป็นที่นิยมของช่างภาพมืออาชีพ เนื่องจากขบวนการสร้างภาพที่ซับซ้อน ฟิล์มรุ่นนี้ขายในราคาที่รวมค่าล้างและต้องส่งไปเข้าสู่ขบวนการล้างที่ศูนย์ ของ Kodak เท่านั้น ต่อมาในปีค.ศ. 1941 บริษัท ยังได้แนะนำฟิล์ม negative สี "Kodacolor" เข้าสู่ตลาดอีกด้วย


ฟิล์มสไลด์สี Kodachrome
ฟิล์มสไลด์สี Kodachrome
       ในปีค.ศ. 1948 นาย Edwin Land ได้นำสิ่งประดิษฐ์ใหม่ออกสู่ตลาด เป็นกล้องถ่ายภาพแบบสร้างภาพทันทีหลังการบันทึกภาพ (Instant-picture camera) ซึ่งมักเรียกกันว่า "Land Camera" รุ่นของกล้องที่ออกตลาด ในตอนนั้นเรียกว่า "Polaroid Model 95" เนื่องจากราคากล้องยังค่อนข้างสูง จึงมีการออกรุ่นใหม่ๆ อีกหลายรุ่น
       ในปีค.ศ. 1963 Polaroid ได้เริ่มจำหน่ายฟิล์มสีสร้างภาพทันทีหลังการบันทึกภาพ (Instant Colour Film)
       ในปีค.ศ. 1965 Polaroid ได้ออกกล้องรุ่น "Model 20 Swinger" ซึ่งถือแป็นรุ่นที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง มียอดขายสูงสุดตลอดกาลรุ่นหนึ่งของบริษัท


กล้อง Polaroid Model 20 Swinger
กล้อง Polaroid Model 20 Swinger
       ในปีค.ศ. 1953 นาย Harold Eugene Edgerton จากบริษัท EG&G ได้ร่วมมือกับนาย Jaques Yves Cousteau นักสำรวจใต้น้ำชาวฝรั่งเศสเริ่มใช้กล้องถ่ายภาพท้องมหาสมุทรโดยใช้คลื่น โซนาร์ในการวัดระยะระหว่างกล้องกับพื้นมหาสมุทร
       ในปีค.ศ. 1968 ยาน Apollo 8 ได้ทำการบันทึกภาพของโลกจากดวงจันทร์เป็นครั้งแรก
       ในปีค.ศ. 1978 บริษัทผลิตกล้อง Konica ได้ประดิษฐ์กล้องถ่ายภาพแบบหาระยะชัดโดยอัตโนมัติ (Automatic Focus Camera)
       ในปีค.ศ. 1980 บริษัท Sony เริ่มแสดงต้นแบบกล้องถ่ายวีดิโอ ในปีถัดมา บริษัท Sony ได้ออกกล้อง
ถ่ายภาพนิ่งแบบอีเลคทรอนิคซึ่งใช้หลักการเดียวกับการบันทึกวีดีโอและใช้แผ่น เก็บข้อมูลขนาดเล็ก ซึ่งสามารถดูภาพและพิมพ์ภาพจากเครื่องอ่านที่สร้างเฉพาะงาน ระบบดังกล่าวคล้ายกับระบบที่บริษัท Texas Instruments คิดค้นขึ้นในปี ค.ศ. 1972 คุณภาพของภาพที่ได้ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำเทียบเท่ากับภาพบนจอทีวี
       ในปีค.ศ. 1985 บริษัท Pixar ได้นำเสนอเทคโนโลยีการสร้างและประมวลภาพด้วยระบบดิจิตอล
       ในปีค.ศ. 1986 บริษัท Fuji ได้ริเริ่มผลิตกล้องแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง
       ในปีค.ศ. 1988 บริษัท Fuji ได้ออกกล้อง Fuji DS-1P ซึ่งถือเป็นกล้องดิจิตอลแรกที่สร้างไฟล์ภาพนำมาใช้ในคอมพิวเตอร์ได้ ตัวกล้องมีการ์ดความจำ 16 MB และต้องใช้พลังงานจากแบตเตอรี่รักษาข้อมูลตลอดเวลา กล้องดังกล่าวไม่ได้มีการวางจำหน่ายมากนัก
       ในปีค.ศ. 1990 กล้องที่มีการวางจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ คือกล้อง Dycam Model 1 ใช้หน่วยบันทึกภาพแบบ CCD (Charge Couple Device) และเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์โดยตรงในการส่งข้อมูลภาพ


กล้อง Dycam Model 1
กล้อง Dycam Model 1
       ในปีค.ศ. 1991 บริษัท Kodak ได้นำกล้อง Kodak DCS-100 ออกจำหน่ายโดยใช้ตัวกล้องแบบใช้ฟิล์มของยี่ห้ออื่นมาดัดแปลง (ใช้กล้องของ Nikon) Kodak ได้ให้การนิยามในการเรียกเม็ดสีแต่ละเม็ดของภาพดิจิตอลว่า “พิกเซล” (Pixel) ขนาดของไฟล์ภาพสำหรับกล้องรุ่นนี้อยู่ที่ 1.3 เมกกะพิกเซล กล้องดังกล่าวมีราคาค่อนข้างสูงและมีเป้าหมายในการจำหน่ายแก่ช่างภาพมือ อาชีพและนักข่าว
       ในปีค.ศ. 1995 กล้อง Ricoh RDC-1 ได้ถูกวางจำหน่าย ถือเป็นกล้องแรกที่สามารถอัดคลิบวีดีโอได้


กล้อง Ricoh RDC-1
กล้อง Ricoh RDC-1
       ในปีค.ศ. 1995 นาย Phillipe Kahn ได้ประดิษฐ์ระบบบันทึกภาพสำหรับโทรศัพท์มือถือเป็นเครื่องแรก และ ในปีค.ศ. 2000 บริษัท J-Phone ได้ออกโทรศัพท์มือถือรุ่น J-SH04 ที่สามารถบันทึกภาพได้จำหน่ายในเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก หลังจากนั้น บริษัทผลิตกล้องชั้นนำต่างก็ผลิตกล้องดิจิตอลที่มีคุณภาพสูงขึ้น มีหน่วยบันทึกภาพที่ให้คุณภาพ และความละเอียดสูงขึ้น ในขณะที่ราคาลดต่ำลง มีแบบและรุ่นต่าง ๆ ให้เลือกมากมาย ทำให้การถ่ายภาพเป็นที่แพร่หลายมากยิ่งขึ้น

หลักการทำงานของกล้อง


       กล้องเป็นเหมือนกล่องทึบแสง ทำหน้าที่รับแสงในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการสร้างภาพ กลไกและชิ้นส่วนต่างๆ ของกล้องทำงานสัมพันธ์กันในการที่จะควบคุมปริมาณแสงไปยังหน่วยรับภาพอย่าง ถูกต้องแม่นยำ อีกทั้งยังควบคุมความคมชัดของภาพ ตลอดจนอำนวยความสะดวกต่างๆ ในการบันทึกภาพ
SP-InsideCamera1

ชิ้นส่วนพื้นฐานและอุปกรณ์ควบคุมหลักของกล้องมีดังต่อไปนี้
ตัวกล้อง (Body)
       ตัวกล้องมีลักษณะเป็นกล่องทึบ ด้านหน้าสำหรับติดตั้งเลนส์ ด้านหลังมีช่องมอง ด้านบนมีปุ่มกดบันทึกภาพ/ปุ่มกดลั่นชัตเตอร์ ภายในมีหน่วยรับภาพอยู่ส่วนหลัง กล้องประเภทสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว (SLR) มีกระจกและปริซึมสำหรับสะท้อนแสงจากเลนส์ไปสู่ช่องมองภาพ ภายในยังมีหน่วยวัดแสง ช่องเก็บแบตเตอรี่และแผงวรจรไฟฟ้า หน่วยความจำ นอกจากนี้ด้านนอกของตัวกล้องยังมีอุปกรณ์วัดระยะห่างจากวัตถุ แฟลช ปุ่มปรับต่าง ๆ และช่องเสียบสำหรับใช้งานต่าง ๆ ตัวกล้องมีโครงสร้างที่แข็งแรง ทำจากวัสดุที่ต่าง ๆ กันสำหรับกล้องแต่ละรุ่นตั้งแต่ พลาสติกจนถึงโลหะผสมที่มีน้ำหนักเบา

L_1 Nikon-Digital-Camera-D800-Body

ช่องมองภาพ (Viewfinder)
       ช่องมองภาพเป็นช่องสำหรับมองภาพก่อนทำการบันทึกภาพ กล้องประเภทสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว (SLR) สามารถมองเห็นภาพในมุมเดียวกับภาพที่จะทำการบันทึกเนื่องจากใช้กระจกสะท้อน แสงจากเลนส์ขึ้นไปปรากฏภาพบนกระจกฝ้าด้านบน แล้วสะท้อนภายในปริซึมห้าเหลี่ยม (Pentaprism) เข้าสู่ช่องมองแสงที่อยู่ด้านหลังของกล้อง กล้องรุ่นใหม่มักมีจอภาพ LCD หรือ LED อยู่ผนังด้านหลังของตัวกล้อง ทำให้มองเห็นภาพที่จะบันทึกได้ถนัดขึ้น

หน่วยรับภาพ (Light-sensitive Materials)
       หน่วยรับภาพเป็นวัสดุไวต่อแสง อาจเป็นฟิล์มหรือแผ่นชิปสร้างภาพดิจิตอล (Digital Imaging Chip) หน่วยรับภาพจะอยู่ด้านหลังภายในตัวกล้อง ในปัจจุบันหน่วยรับแสงที่เป็นฟิล์มเริ่มหมดจากตลาด ส่วนแผ่นชิปสร้างภาพดิจิตอลที่นิยมใช้ จะเป็น “CCD” (charge coupled device) และ “CMOS” (complementary metal oxide semiconductor)
       ในยุคก่อนที่ใช้ฟิล์มเป็นหน่วยรับภาพ ผู้ผลิตฟิล์มจะกำหนดให้มีการผลิตฟิล์มแต่ละชนิดให้มีค่าความไวแสงที่ต่าง ๆ กันสำหรับการใช้งานแต่สภาพแสง ความไวแสงมีหน่วยวัดตามระบบ ISO (International Standards Organization) มาตรฐานที่ใช้คือ ISO 5800:1987 (เดิมยังมีการกล่าวอ้างถึงระบบมาตรฐาน DIN ย่อมาจาก “Deutsches Institut für Normung” ซึ่งเป็นมาตรฐานของเยอรมัน) ฟิล์มสำหรับถ่ายภาพในสภาวะแสงทั่วไป มีค่า ISO เท่ากับ 64 ถึง 100 หากจะถ่ายภาพในที่มืดปานกลาง ให้เลือกใช้ฟิล์มที่มี ISO เท่ากับ 300 ถึง 400 สำหรับสถานที่ที่มืดมากอาจใช้ ฟิล์มที่มี ISO สูงถึง 1600 อนึ่งเมื่อฟิล์มที่มีค่า ISO สูงขึ้น คุณภาพของภาพก็จะด้อยลง

CCD-vs-CMOS-Fact-and-Fiction
หน่วยรับภาพ CCD และ CMOS
SP-CCD-Size
       เมื่อมีวิวัฒนาการใช้แผ่นชิปสร้างภาพดิจิตอลเป็นหน่วยรับภาพ การกำหนดค่าความไวแสงของหน่วยรับภาพใช้วิธีเทียบเคียงกับค่าความไวแสงของ ฟิล์มและใช้ค่าในระบบ ISO เช่นกัน แต่เนื่องจากแผ่นชิป สร้างภาพดิจิตอลหนึ่ง ๆ สามารถปรับค่าความไวแสงได้หลายระดับไม่เหมือนของฟิล์มแต่ละม้วนที่มีค่า ISO ตายตัว ผู้ใช้กล้องจึงสามารถเลือกใช้ค่า ISO ได้ตามสภาพของแสง (ในปัจจุบัน การเลือกใช้ ISO สูง ๆ ยังมีปัญหาเรื่องคุณภาพของภาพอยู่) ได้มีการปรับปรุงหมายเลขมาตรฐานที่ใช้อ้างอิง เป็น ISO 12232:2006 สำหรับหน่วยรับแสงแบบดิจิตอล

เลนส์ (Lens)
       เป็นกลุ่มของเลนส์ที่ให้แสงผ่าน ทำหน้าที่ย่อ/ขยายภาพ และทำให้ภาพที่หน่วยรับภาพมีความคมชัด ภายในเลนส์จะมีอะเพอร์เจอร์ และอุปกรณ์ปรับระยะชัดอัตโนมัติ อีกทั้งอาจมีการติดตั้งอุปกรณ์ลดการสั่นไหวของภาพ เลนส์จะถูกแบ่งประเภทตามความยาวโฟกัสของเลนส์ (Focal Length) เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสเท่ากับ 50 ม.ม. ถือเป็นเลนส์ถ่ายภาพปกติ (Normal Lens / Prime Lens) ของกล้องที่ใช้ฟิล์ม 35 ม.ม. กล่าวคือเมื่อเรามองผ่านช่องมองแสงของกล้องที่ใช้ฟิล์ม 35 ม.ม.ด้วยเลนส์ชนิดนี้จะเห็นภาพขนาดปกติไม่ใหญ่หรือเล็กเกินความเป็นจริง เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสต่ำกว่านี้ถือเป็นเลนส์ถ่ายภาพมุมกว้าง (Wide Angle Lens) เช่น เลนส์ 35 ม.ม. เลนส์ 16 ม.ม. ยังมีเลนส์ที่สามารถมองมุมได้กว้างเกือบ 180 องศา เราเรียกเลนส์ชนิดนี้ว่า เลนส์ตาปลา (Fish Eye Lens) ส่วนเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสมากกว่า 50 ม.ม. ถือเป็นเลนส์ถ่ายภาพระยะไกล (Telephoto Lens) เช่น เลนส์ 80 ม.ม. เลนส์ 135 มม. เลนส์ 300 ม.ม. เลนส์ที่สามารถเปลี่ยนความยาวโฟกัสได้ถูกเรียกว่าเลนส์ถ่ายภาพเปลี่ยนระยะ โฟกัสหรือเลนส์ซูม (Zoom Lens) เลนส์ประเภทนี้จะระบุช่วงระยะโฟกัสต่ำสุดกับสูงสุด เช่น เลนส์ 35-70 ม.ม. หมายถึง เลนส์ที่สามารถปรับช่วงความยาวโฟกัสตั้งแต่ 35 ม.ม. เรื่อยไปจนถึง 70 ม.ม. (แสดงให้เห็นว่าเลนส์ตัวนี้ ครอบคลุมทั้งช่วงมุมกว้าง ปกติและช่วงระยะไกล) ยังมีเลนส์อีกประเภทหนึ่งที่ใช้ถ่ายภาพระยะใกล้มาก ๆ เช่น ถ่ายภาพดอกไม้ แมลง เราเรียกว่าเลนส์ถ่ายภาพระยะใกล้/เลนส์มาโคร (Macro Lens) เลนส์ประเภทนี้เป็นเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสคล้ายเลนส์ประเภทอื่น แต่ออกแบบให้สามารถถ่ายภาพในระยะใกล้ ๆ ได้

SP-FocalLength
การหาความยาวโฟกัสของเลนส์
ชัตเตอร์ (Shutter)
       ชัตเตอร์ ทำหน้าที่เสมือนประตูปิดเปิดรับแสงให้กับหน่วยรับภาพ อยู่ภายในตัวกล้องด้านหน้าของหน่วยรับภาพ ผู้ใช้สามารถปรับตั้งระยะเวลาในการเปิดรับแสงให้กับหน่วยรับภาพ ในสภาวะแสงปกติ เวลาในการเปิดรับภาพเป็นเศษส่วนของวินาที ช่วงเวลาที่มีการเปิดรับแสงเรียกว่าความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed) มีหน่วยวัดเป็นตัวเลขจำนวนเต็มเท่ากับส่วนของวินาทีที่เปิดรับภาพ เช่น เปิดรับแสงนาน 1/125 วินาที จะได้ค่าความเร็วชัตเตอร์เท่ากับ "125" หากต้องการกำหนดเวลาการเปิดรับแสงโดยผู้ใช้เองจะใช้อักษร "B" ในกรณีที่เปิดชัตเตอร์นาน 2 วินาที ก็กำหนดค่าความเร็วชัตเตอร์เป็นเลขจำนวนเต็มเท่ากับ "2" เช่นเดียวกับการเปิดนาน 1/2 วินาที แต่ที่ปุ่มปรับ เลข ”2" สำหรับ 2 วินาทีจะอยู่ต่ำกว่า "B" และมักใช้สีของตัวเลขที่ต่างออกไป

SP-Shutter
Focal-Plane Shutter

อะเพอร์เจอร์ (Aperture)
       อะเพอร์เจอร์เป็นอุปกรณ์ภายในเลนส์ที่คอยปรับเปลี่ยนขนาดของรูแสง ทำหน้าที่เสมือนหน้าต่างเปิดรับแสงผ่านเลนส์เข้าสู่ตัวกล้อง หากรูแสงใหญ่ปริมาณแสงจะส่องผ่านได้มากกว่ารูแสงที่เล็กกว่า มีหน่วยวัดเป็นอัตราส่วนของความยาวโฟกัส (Focal Length) กับเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดของรูแสงอะเพอร์เจอร์ เช่น เลนส์ที่มีความยาวโฟกัส 50 ม.ม. เมื่อเปิดอะเพอร์เจอร์ให้มีรูขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6.25 ม.ม. เอา 50 หารด้วย 6.25 ซึ่งเท่ากับ 8 ก็จะได้ค่าของอะเพอร์เจอร์เท่ากับ "f/8" ค่าของอะเพอร์เจอร์โดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง "f/1.2" ถึง "f/32" (โดยทั่วไปจะพบ f/1.4 f/2 f/2.8 f/3.5 f/4.5 f/5.6 f/8 f/11 f/16 f/22 f/32) จะสังเกตุเห็นว่าหากตัวเลขมีค่าน้อยลงขนาดของรูแสงจะกว้างขึ้น

A4fstop-1 
ภาพแสดงขนาดของรูแสงที่ค่าอะเพอร์เจอร์ต่าง ๆ
การปรับตั้งกล้องในการบันทึกภาพหนึ่ง ๆ
การหาระยะชัด (Focusing) เป็นการปรับเลื่อนระยะระหว่างเลนส์กับวัตถุที่จะบันทึกภาพ กับระยะระหว่างเลนส์กับหน่วยรับภาพจนได้ตำแหน่งที่ทำให้ภาพมีความคมชัดที่ สุด กล้องรุ่นใหม่ ๆ มีระบบหาระยะชัดโดยอัตโนมัติ กล้องสำหรับมืออาชีพหรือกึ่งมืออาชีพ มีปุ่มให้เลือกได้ว่าจะให้กล้องหาระยะชัดหรือจะหาระยะชัดเอง

การควบคุมปริมาณแสง (Exposure) เป็นการทำงานสัมพันธ์กันระหว่างการปรับขนาดความกว้างของรูอะเพอร์เจอร์กับ ระยะเวลาในการเปิดรับแสงของชัตเตอร์ หน่วยรับแสงจะสร้างภาพได้สมบูรณ์นั้นต้องได้รับปริมาณแสงจำนวนที่เหมาะสมไม่ มากไปหรือน้อยไป หากภาพจากวัตถุสว่างน้อยก็ต้องเปิดรับแสงให้มากขึ้น ทำได้โดยการเปิดชัตเตอร์ให้รับแสงนานขึ้นหรือจะปรับอะเพอร์เจอร์ให้รูแสง ใหญ่ขึ้นหรือปรับทั้งสองอย่างจนกว่าปริมาณแสงที่จะส่งไปยังหน่วยรับภาพจะตรง ต่อความต้องการ อนึ่งในการให้หน่วยรับภาพได้รับปริมาณแสงเท่ากันนั้น หากปรับระยะเวลารับแสงของชัตเตอร์นานขึ้น ก็ต้องลดขนาดของอะเพอร์เจอร์ให้เล็กลง จึงจะทำให้ปริมาณแสงที่ได้คงเดิม
ไม่ว่าจะเป็นการตั้งค่าต่าง ๆ แบบอัตโนมัติหรือจะตั้งค่าด้วยตนเอง เมื่อได้ค่าต่าง ๆ ที่ถูกต้อง ก็ทำการเล็งผ่านช่องมองภาพ เมื่อได้ภาพที่มีองค์ประกอบที่ต้องการ ก็สามารถทำการบันทึกภาพได้อย่างมั่นใจ

เรียนรู้การใช้กล้อง


       ก่อนที่จะทำการถ่ายภาพ ควรใช้เวลาสักเล็กน้อยเรียนรู้หลักการและความสามารถของกล้องตลอดจนวิธีการ ปรับตั้งกล้องที่จะนำมาใช้ ถึงแม้ว่ากล้องยุคปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย เพียงเล็งไปยังวัตถุที่จะถ่ายแล้วกดปุ่มเปิดชัตเตอร์ ที่เหลือกล้องทำหน้าที่ให้หมด แต่หากเราต้องการได้ภาพที่แตกต่างออกไป เช่น ต้องการทำให้พื้นฉากหลังพร่ามัวเพื่อยังผลให้วัตถุที่เราถ่ายโดดเด่นขึ้น หรือต้องการถ่ายวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวให้คมชัด หรืออยากได้ภาพที่มีโทนสีที่อบอุ่นขึ้น ซึ่งถ้าเราเข้าใจการทำงานของปุ่มควบคุมต่าง ๆ ของกล้อง เราก็สามารถจัดการกับความต้องการเหล่านี้ ก่อนอื่นให้เราเรียนรู้ลำดับการใช้กล้องอย่างคร่าว ๆ
แนะนำกล้อง-DSLR

ขั้นตอนการนำกล้องมาใช้ในการบันทึกภาพ
• ศึกษาการทำงานของกล้องที่จะนำมาใช้
• เลือกเลนส์ให้เหมาะกับงาน แล้วนำมาติดตั้งกับตัวกล้อง
• ติดตั้งอุปกรณ์เสริมเพื่อช่วยให้ได้ภาพที่ดีขึ้น เช่น แฟลช ขาตั้ง ฯลฯ
• ปรับตั้งค่าต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมปริมาณของแสง อันได้แก่ ค่าความไวแสงของหน่วยรับภาพ
ค่าความสมดุลย์ของแสงสีขาว ค่าความเร็วชัตเตอร์และขนาดอะเพอร์เจอร์ หากต้องการให้กล้องคำนวนให้
ให้ตั้งรูปแบบอัตโนมัติ (AUTO)
• จับถือกล้องอย่างถูกวิธี เล็งผ่านช่องมองแสงไปยังวัตถุที่จะบันทึกภาพ
• ปรับหาโฟกัสของวัสถุในภาพ ซึ่งโดยปกติมักใช้ระบบหาโฟกัสของกล้อง
• จัดองค์ประกอบของภาพที่เห็นในช่องมอง
• รอจังหวะท่วงท่าของวัตถุ แล้วกดชัตเตอร์
• ใช้และเก็บรักษากล้องอย่างทะนุถนอม ไม่กระทบกระแทกกล้อง ระวังอย่าให้เลนส์มีรอยขีดข่วน ทำความสะอาดเลนส์ด้วยกระดาษเช็ดเลนส์และอุปกรณ์ทำความสะอาดเลนส์

การเลือกใช้เลนส์ เลนส์มีส่วนสำคัญต่อคุณภาพของภาพเป็นอย่างมาก เนื้อเลนส์ที่ทำจากแก้วจะมีคุณภาพดีกว่าเลนส์ที่ทำจากโพลิคาร์บอเนต เลนส์ที่ดีจะมีความใส ให้ความคมชัดและกระจายแสงได้เสมอกันทั่วทั้งภาพ (ตรวจสอบได้โดยการถ่ายภาพกำแพงเรียบ ๆ ที่มีความสว่างเท่า ๆ กันทั้งหน้า) ไม่มีอาการพร่ามัว (blur) ที่มุมภาพในขณะที่ส่วนกลางคมชัด และมีการบิดเบือนของภาพ (distortion) น้อย (เช่นถ่ายภาพของใบหน้าออกมาบวมเกินจากความเป็นจริง) เลนส์ที่ดีจึงมีราคาแพงและมีน้ำหนักมาก การเลือกใช้เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสให้เหมาะกับงานก็มีความสำคัญเช่นกัน เช่น การถ่ายภาพบุคคลครึ่งตัว ควรใช้เลนส์ที่มีความยาวโฟกัส ประมาณ 80 มม. ถึง 135 มม. ถ่ายภาพทิวทัศน์ ควรใช้ 35 - 50 มม. ถ่ายภาพนก ควรใช้ 250 มม.ขึ้นไป เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสสูงมีโอกาสที่ภาพจะสั่นไหวมากกว่าเลนส์ที่มีความยาว โฟกัสต่ำเนื่องมาจากอัตราการขยายของภาพมากกว่า การสั่นไหวเพียงเล็กน้อยก็จะทำให้ภาพที่ได้ไม่คมชัด

 SP-DistortionSP-DarkCorner
ph_04
ลักษณะการบิดเบือน (Distortion) ของภาพแบบต่าง ๆ ที่เกิดจากเลนส์
การตั้งค่าความไวแสงของหน่วยรับภาพ สำหรับกล้องดิจิตอลนั้น ส่วนใหญ่กล้องจะคนวนและตั้งค่าให้โดยอัตโนมัติ แต่หากเราต้องการตั้งเองก็สามารถทำได้ การตั้งค่า ISO โดยปกติจะตั้งไว้ที่ประมาณ 80 ถึง 250 สำหรับสภาวะแสงปกติ การถ่ายภาพในที่มืดหรือภาพเคลื่อนไหวสามารถตั้งค่าที่สูงขึ้นไปอีก แต่ไม่ควรเกิน 800 เนื่องจากจะเกิดปัญหาเรื่องเม็ดสีที่แตกพร่าและมีสีผิดเพี้ยน (Noises) เป็นที่คาดกันว่าหน่วยรับภาพจะถูกพัฒนาให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นอีก ในอนาคตจะทำให้ปัญหาเหล่านี้หมดไป ขนาดของหน่วยรับภาพมีความสำคัญต่อคุณภาพของภาพมาก หากความหนาแน่นของพิกเซลใกล้เคียงกัน ขนาดของหน่วยรับภาพยิ่งใหญ่ขึ้นจะให้รายละเอียดของภาพที่ดีขึ้น คมชัดขึ้นกว่าหน่วยรับภาพที่เล็กกว่า จะเห็นว่ากล้องสำหรับมืออาชีพจะใช้หน่วยรับภาพขนาด FX ซึ่งเท่ากับขนาดของฟิล์ม 35 ม.ม. และใหญ่กว่าขนาดของหน่วยรับภาพของกล้องระดับรอง ๆ ลงมา
การปรับตั้งค่าความสมดุลย์ของแสงสีขาว (White Balance) เนื่องจากแหล่งกำเนิดของแสงต่าง ๆ มีอุณหภูมิสีที่ต่างไปจากแสงของพระอาทิตย์ที่มีอุณหภูมิสี 5,500 องศาเคลวิน เช่นแสงจากหลอดไฟจะมีสีอมเหลือง แสงจากนีออนมีสีอมฟ้า เมื่อแสงจากแหล่งกำเนิดแสงเหล่านี้ไปตกกระทบลงบนวัตถุ ก็จะทำให้ภาพของวัตถุนั้นมีสีเอนเอียงไปตามอุณหภูมสีของแหล่งกำเนิดแสงนั้น ๆ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว กล้องจึงทำการคำนวนค่าของสีชดเชยให้ โดยปกติกล้องรุ่นใหม่ ๆ จะทำหน้าที่นี้โดยอัตโนมัติ แต่ก็มีปุ่มสำหรับให้ผู้ใช้ปรับแต่งเองด้วย ในทางปฏิบัติ เรามักจะให้กล้องคำนวนหาค่าความสมดุลย์ของแสงสีขาว หากเราทดลองถ่ายแล้วเห็นว่าภาพทีได้มีโทนสีที่ไม่ถูกต้องก็สามารถทำการปรับ ค่าฯนี้เองได้ และถ้าเราเข้าใจนิสัยของกล้องที่ใช้อยู่ได้ดี เราก็ปรับตั้งค่าฯ ตามสภาวะแสงที่เป็นอยู่ก่อนทำการบันทึกภาพก็ได้
การตั้งความเร็วชัตเตอร์และขนาดอะเพอร์เจอร์ เนื่องจากปริมาณแสงที่หน่วยรับภาพต้องการมีค่าคงตัวสำหรับ ISO หนึ่ง ๆ การปรับความเร็วชัตเตอร์กับขนาดรูแสงอะเพอร์เจอร์จึงต้องมีความสัมพันธ์กัน หากเพิ่มความเร็วชัตเตอร์ก็ต้องเพิ่มขนาดของรูแสงอะเพอร์เจอร์ตาม (นั่นคือค่า f จะต่ำลงเช่น จาก f/11 เป็น f/5.6) การเลือกความเร็วชัตเตอร์สำหรับภาพทั่วไปไม่ควรต่ำกว่า 125 เพราะหากต่ำกว่านี้ ภาพอาจสั่นไหวได้ การตั้งความเร็วชัตเตอร์ต่ำมักใช้ถ่ายภาพกลางคืน ถ่ายเส้นสายของแสงไฟรถที่วิ่งไปตามทาง หรือถ่ายภาพน้ำตกให้เห็นสายน้ำเป็นเส้น ๆ ฯลฯ ส่วนการตั้งความเร็วชัตเตอร์สูงมักใช้ถ่ายภาพที่มีการเคลื่อนไหว เช่นภาพกีฬา ภาพนก ฯลฯ การตั้งขนาดรูแสงอะเพอร์เจอร์มีผลต่อระยะชัดลึก (ช่วงระยะห่างระหว่างจุดใกล้ที่สุดจากกล้องถึงจุดที่จะถ่ายเริ่มมีความคมชัด ของภาพจนถึงระยะที่ไกลที่สุดที่เริ่มหมดความคมชัดหรือเรียกว่า “Depth of Field”) ขนาดรูแสงอะเพอร์เจอร์ที่กว้างขึ้น ระยะชัดลึกก็จะน้อยลง ตัวอย่างเช่น ถ่ายภาพบุคคล ตาข้างหนึ่งจะคมชัด ส่วนอีกข้างซึ่งอยู่ไกลออกไปอีกเล็กน้อยเริ่มพร่ามัวหลังจากที่เพิ่มขนาดรู แสงขึ้น การเลือกขนาดรูแสงอะเพอร์เจอร์อยู่ที่ประเภทของภาพ เช่น หากถ่ายทิวทัศน์ จะใช้รูแสงที่เล็กเพื่อให้ภาพทุกจุดคมชัด (ใช้ f/8 ขึ้นไป) หากถ่ายภาพดอกไม้หรือแมลงจะใช้รูแสงที่กว้างขึ้นเพื่อให้ดอกไม้เด่นและด้าน หลังพร่ามัว (ใช้ f/5.6 แต่ไม่ควรกว้างกว่านี้เพราะระยะชัดลึกจะน้อยเกินไป)
กล้องประเภทคอมแพค มักไม่มีปุ่มให้ปรับตั้งความเร็วชัตเตอร์หรือขนาดอะเพอร์เจอร์ ต้องเป็นกล้องประเภทกึ่งมืออาชีพขึ้นไปจึงจะมีปุ่มปรับเหล่านี้ การปรับตั้งเริ่มจากเลือกรูปแบบการปรับตั้งที่ปุ่มหมุนบนกล้องก่อน แล้วจึงปรับค่าอื่น ๆ ตามเงื่อนไขของรูปแบบที่เลือกไว้ ซึ่งกล้องส่วนใหญ่มีรูปแบบให้เลือกดังนี้

usepmode

"AUTO" กล้องเป็นผู้คำนวนและเลือกค่าทุกอย่างโดยอัตโนมัติเพื่อให้ได้ปริมาณแสงที่ถูกต้อง
"M" (Manual) ผู้ใช้เป็นผู้ปรับตั้งค่าเองทั้งหมด
"S" (Shutter Priority) ผู้ใช้เป็นผู้ตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ กล้องจะคำนวนหาค่าอะเพอร์เจอร์
"A" (Aperture Priority) ผู้ใช้เป็นผู้ตั้งค่าอะเพอร์เจอร์ กล้องจะคำนวนหาค่าความเร็วชัตเตอร์
"P" (Program) คล้ายรูปแบบ "AUTO" แต่ยอมให้ผู้ใช้ปรับแต่งค่าต่าง ๆ ได้
นอก จากนี้ กล้องแต่ละรุ่นยังมีรูปแบบอื่น ๆ ให้เลือก เช่น รูปแบบสำหรับถ่ายทิวทัศน์ บุคคล ดอกไม้ ฯลฯ รูปแบบเหล่านี้มักแสดงเป็นภาพแทนตัวอักษร กล้องจะคำนวนค่าต่าง ๆ ให้โดยอัตโนมัติให้เหมาะกับรูปแบบที่เลือกไว้

b950925654e1050da894c381a68e7804
การใช้ไฟเฟลช นอกจากไฟเฟลชขนาดใหญ่ที่ใช้กันในสตูดิโอถ่ายภาพแล้ว ไฟแฟลชที่ติดกับตัวกล้องก็มีความสำคัญ ช่วยเพิ่มแสงให้แก่วัตถุที่จะถ่าย ทำให้ภาพออกมามีสีสรรที่ดีขึ้น และยังช่วยให้เราสามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์ได้สูงขึ้น แม้การถ่ายภาพนอกสถานที่ซึ่งมีแสงมากพอ เราสามารถใช้แฟลชเติมแสงด้านหน้าให้วัตถุอีกเล็กน้อย (Fill In) ทำให้วัตถุสว่างขึ้น เด่นชัดและลดเงามืดที่อาจมีปรากฏอยู่ การถ่ายภาพย้อนแสงหากใช้ไฟแฟลชช่วยจะทำด้านหน้าของวัตถุซึ่งมืดอยู่สว่าง ขึ้น เห็นรายละเอียดได้ดีขึ้น โดยปกติแสงไฟจากแฟลชเป็นแสงที่แข็ง เวลาใช้งาน หากถ่ายในห้องจะใช้วิธีหันหัวแฟลชขึ้นด้านบนทำมุมให้แสงแฟลชสะท้อนฝ้าเพดาน กลับไปที่วัตถุที่จะถ่าย จะทำให้แสงนุ่มขึ้น หรือจะสวมหัวแฟลชด้วยยางขุ่นที่ทำเฉพาะ (Diffuser) ก็ช่วยให้แสงนุ่มขึ้นได้
url0001
การใช้ขาตั้ง ขาตั้งช่วยยึดกล้องไม่ให้มีการสั่นไหวเวลาลั่นชัตเตอร์ ทำให้ภาพมีความคมชัดแม้จะใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำ ๆ เป็นเวลาหลายวินาที ดังนั้น เวลาการถ่ายภาพกลางคืน หรือเมื่อจะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำ จึงต้องใช้ขาตั้งช่วยเสมอ (หากมีความจำเป็นและหาขาตั้งไม่ได้ ให้หาที่ยึดที่มั่นคง เช่นเสาไฟฟ้า โต๊ะ เวลาถ่ายให้ยึดกล้องกับตัวช่วยเหล่านี้ให้มั่น ๆ อย่าให้ขยับได้แม้แต่เล็กน้อย มิฉะนั้นภาพจะออกมาไม่คมชัดได้) ช่างภาพมืออาชีพหากมีโอกาส เขามักใช้ขาตั้งช่วยในการถ่ายภาพเสมอ แม้แต่การถ่ายภาพทิวทัศน์ในเวลากลางวันซึ่งมีแสงเพียงพออยู่แล้ว ทั้งนี้เพราะเมื่อนำภาพไปขยายใหญ่ ๆ ภาพก็ยังคมชัดอยู่และยังให้รายละเอียดที่ดี

มาทำความรู้จักกับ ฟิล์ม (Film)

       ฟิล์มเป็นหัวใจสำคัญของการถ่ายภาพทุกประเภท เพราะฟิล์มเป็นสิ่งรองรับแสงและทำปฏิกริยาจนเกิดเป็นภาพถ่ายตามที่เราต้อง การ ผู้ถ่ายภาพจะพบว่า ในปัจจุบันฟิล์มแต่ละยี่ห้อได้ผลิตออกมาให้เลือกใช้มากมายหลายรุ่น การที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะฟิล์มถ่ายภาพแต่ละรุ่นแต่ละแบบมีคุณสมบัติในการ สร้างภาพที่แตกต่างกันนั่นเอง ในการถ่ายภาพจึงจำเป็นต้องเลือกใช้ฟิล์มให้ถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์ของการ ถ่ายภาพ โดยจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้

โครงสร้างของฟิล์ม
       ฟิล์ม เป็นส่วนสำคัญในการบันทึกภาพ ประกอบด้วยชั้นของเยื่อไวแสงที่เคลือบไว้บนฐานรองรับ ซึ่งอาจเป็นอาซีเตท พลาสติคใส หรือกระจก โครงสร้างของฟิล์มประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้

ส่วนที่เป็นฐานรองรับเยื่อไวแสง(Support)
       สมัยก่อนใช้เซลลูลอยด์ไนเตรท (Cellulosenitrate) ซึ่งติดไฟได้ง่าย ต่อมาได้ใช้โพลีเอธิลีนเทเรพธาเลต โพลีเอสเตอร์ (Polyethylene terepthalate polyester) แทน

ส่วนที่เป็นเยื่อไวแสง (Emulsion)
       สารเคมีที่สำคัญในการประกอบเป็นเยื่อไวแสงของฟิล์มถ่ายภาพคือ เกลือเงินเฮไลต์ (Silver halide) เช่น เงินคลอไรด์ (Silver chloride) เงินโบรไมต์ (Silver bromide) และเงินไอโอไดต์ (Silver iodide) ก่อนฉาบสารไวแสง บนฐานรองรับจะมีชั้นของเยลาตินซึ่งเป็นวัสดุเหนียว สกัดจากเขาและกระดูกสัตว์คั่นอยู่ก่อน เพื่อให้สารไวแสงยึดแน่นกับฐานรองรับ เรียกเยลาตินชั้นนี้ว่า Subbing layer และเมื่อฉาบสารไวแสงบนฐานรองรับแล้ว จะใช้เยลาตินฉาบที่ผิวบนสุดอีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันการถูกขีดข่วน ซึ่งเรียกเยลาตินชั้นบนสุดนี้ว่า Nonstress supercoat ส่วนที่เป็น ด้านหลังของฟิล์ม จะฉาบด้วยเยลาตินผสมกับสีอินทรีย์ เพื่อป้องกันการโค้งงอ เนื่องจากการเปียกและการแห้งของเยื่อไวแสงและของเยลาติน นอกจากนั้นยังทำหน้าที่ป้องกันการเกิด (Halation) คือ การสะท้อนกลับหมดของแสงที่ผิวล่างของฐานรองรับ ทำให้เกิดวงกลมสว่างขึ้นโดยรอบภาพของจุดกำเนิดแสง

ประเภทของฟิล์ม
        ฟิล์มที่ใช้ในการถ่ายภาพโดยทั่วไป อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ ฟิล์มถ่ายภาพขาวดำ และฟิล์มถ่ายภาพสี

ฟิล์มถ่ายภาพขาว-ดำ (Black and white film) แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ

filmBlackWhite1
ฟิล์มเนกาทีฟ (Negative film) คือ ฟิล์มขาว-ดำที่ใช้ถ่ายภาพโดยทั่วไป มีเยื่อไวแสงซึ่งให้สีตรงกันข้ามกับสีของวัตถุ หลังจากถ่ายภาพไปแล้ว นำฟิล์มไปผ่านกระบวนการล้างฟิล์ม ลักษณะของภาพจะเป็นเนกาทีฟ คือ ขาวเป็นดำ และดำเป็นขาว เมื่อนำฟิล์มไปอัดขยายลงบนกระดาษอัดภาพ จะได้ภาพที่มีสีตรงกับความเป็นจริงของ

filmBlackWhite2
ฟิล์มโพสิทิฟ (Positive film) เป็นฟิล์มขาว-ดำ ใช้สำหรับ Copy จากฟิล์มเนกาทีฟให้เป็นฟิล์มโพสิทีฟหรือสไลด์ขาว-ดำ

filmBlackWhite3
ฟิล์มริเวอร์ซัล (Reversal film) คือ ฟิล์มประเภทสไลด์ เป็นฟิล์มโปร่งใส เมื่อถ่ายภาพแล้วนำไปผ่านกระบวนการล้างฟิล์ม จะได้ภาพที่มีลักษณะเหมือนธรรมชาติ
ฟิล์มสี (Color film) แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดเช่นเดียวกัน ได้แก่
film2
ฟิล์มสีเนกาทึฟ(Color negative film) เป็นฟิล์มสีที่ใช้ถ่ายภาพโดยทั่วๆ ไป หลังจากถ่ายภาพแล้ว นำไปผ่านกระบวนการล้างฟิล์ม แล้วนำไปอัดขยายลงในกระดาษอัดภาพ จึงจะได้ภาพที่มีสีตรงกันตามความเป็นจริงของวัตถุที่ถ่าย
ฟิล์มโพสิทีฟ (Color positive film) เป็นฟิล์มที่ใช้สำหรับ Copy จากฟิล์มเนกาทีฟเป็นฟิล์มโพสิทีฟ คือสไลด์สี

ฟิล์มริเวอร์ซัล (Color reversal film) เป็นฟิล์มสีที่เมื่อนำไปถ่ายภาพ แล้วผ่านกระบวนการล้างฟิล์มแล้ว จะได้ภาพโปร่งใสที่มีสีตรงตามความเป็นจริงของวัตถุ หรือที่เรียกว่าฟิล์มสีสไลด์นั่นเอง

ความไวแสงของฟิล์ม (Film speed)
เยื่อ ไวแสงของฟิล์มจะประกอบไปด้วยเกลือเงิน ซึ่งเมื่อถูกแสงก็จะเกิดปฎิกริยาเปลี่ยนเป็นเงินและสร้างเป็นเงาแฝง เม็ดเกลือเงินนี้กระจัดกระจายในเยื่อไวแสง ทำให้ฟิล์มทำปฎิกริยากับแสงอย่างรวดเร็ว ความไวแสงของฟิล์มนี้เรียกว่า ความไวแสงของฟิล์ม (Film speed) ฟิล์มที่มีความไวแสงช้าจะมีเกลือเงินฉาบอยู่บางๆ และมีขนาดเม็ดเกลือเงินเล็กๆ ทำให้ เนื้อของฟิล์ม (Grain) ละเอียด ส่วนฟิล์มที่มีความไวแสงสูงจะมีเม็ดเกลือเงินใหญ่กว่า ทำให้เนื้อของฟิล์มหยาบกว่าฟิล์มที่มีความไวแสงช้า ซึ่งสามารถแบ่งความไวแสงของฟิล์มออกได้เป็น 4 ระดับ คือ

ฟิล์มที่มีความไวแสงต่ำ (Low speed film)
ได้แก่ ฟิล์มที่มีความไวแสงฟิล์มประมาณ ISO 25-64 ฟิล์มประเภทนี้จะฉาบเยื่อไวแสงไว้บางๆ และมีเม็ดเกลือเงินขนาดเล็ก ทำให้เนื้อของฟิล์ม (Grain) ละเอียด ให้ความคมชัดของรายละเอียดต่างๆ ในการถ่ายภาพได้ดีมาก เหมาะสำหรับการถ่ายภาพในที่ๆมีแสงสว่างมาก สามารถนำไปฟิล์มไปอัดขยายภาพขนาดใหญ่ได้เป็นอย่างดี

ฟิล์มที่มีความไวแสงปานกลาง (Normal or Medium speed film)
ได้แก่ฟิล์มที่มีความไวแสงฟิล์มประมาณ ISO 80-125 เหมาะสำหรับถ่ายภาพทั่วๆไป ในที่ๆมีแสงสว่างปานกลาง เนื้อของฟิล์มละเอียดพอสมควร ให้ความคมชัดของรายละเอียดต่างๆ ในการถ่ายภาพได้ดี

ฟิล์มที่มีความไวแสงสูง (High or fast speed film)
ได้แก่ ฟิล์มที่มีความไวแสงฟิล์มประมาณ ISO 160-400 มีคุณภาพของเนื้อเกรนฟิล์มค่อนข้างหยาบ ไม่เหมาะที่จะนำฟิล์มไปขยายภาพให้มีขนาดใหญ่มากๆ เพราะเกรนของภาพจะแตก ฟิล์มที่มีความไวแสงฟิล์มสูงจะทำปฎิกริยากับแสงได้เร็วและได้รับแสงมาก จึงเหมาะสำหรับการถ่ายภาพในที่มีแสงสว่างน้อย

ฟิล์มที่มีความไวแสงสูงพิเศษ (Ultra fast speed film)
เป็นฟิล์มที่ผลิตขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ มีความไวแสงสูงตั้งแต่ ISO 1000 ขึ้นไป เหมาะสำหรับการนำไปถ่ายภาพในที่ที่มีแสงน้อย หรือต้องการถ่ายภาพเพื่อแสดงเนื้อของภาพหรือต้องการหยุดการเคลื่อนที่เร็วๆ ขณะใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงมากๆ และได้สภาพแสงที่ถูกต้อง
ค่าความไวแสง ของฟิล์มนี้ บริษัทผู้ผลิตฟิล์มจะพิมพ์บอกมาให้ไว้ที่กล่องหรือฟิล์มหรือสลากฟิล์ม โดยมีหน่วยใช้กันหลายระบบ เช่น ระบบอเมริกา คือ ASA (American Standards Association) และระบบสากลแบบใหม่คือ ISO (International Standards Organization) มีอัตราความไวแสงต่อหน่วยเท่ากับหน่วย ASA หน่วยที่ใช้กับฟิล์มเยอรมัน คือ DIN (Deutsch Industrie Norm) อีกระบบหนึ่งเป็นของประเทศรัสเซียคือ GOST (Gosudurstvenny of Standart) ใช้อัตราความไวแสงเดียวกับระบบ ASA เป็นต้น
ตัวเลขกำหนดค่าความไวแสง ของฟิล์มมากแสดงว่า ฟิล์มมีความไวแสงสูงหรือมาก ตัวเลขน้อยแสดงว่ามีความไวแสงต่ำหรือน้อย ค่าของความไวแสงที่แตกต่างกันนี้มีผลต่อการเลือกขนาดช่องรับแสงและความเร็ว ชัตเตอร์ในการถ่ายภาพเป็นอย่างมาก ฟิล์มที่มีความไวแสงมากจะไวต่อแสงได้เร็วและมากกว่าฟิล์มที่มีความไวแสงน้อย ในสภาพแสงแบบเดียวกัน
ดังนั้นในการเลือกขนาดช่องรับแสงหรือความเร็ว ชัตเตอร์ จึงต้องคำนึงถึงความไวแสงของฟิล์มด้วย นอกจากนี้ฟิล์มที่มีความไวแสงต่างกัน ยังมีผลทำให้เนื้อของฟิล์มต่างกันด้วยคือ ฟิล์มที่มีความไวแสงสูง เนื้อของฟิล์มจะหยาบและมีความตัดกันของสี (Contrast) น้อย ส่วนฟิล์มที่มีความไวแสงต่ำ เนื้อของฟิล์มจะละเอียดและมีความตัดกันสูง
ด้วย เหตุนี้ก่อนการถ่ายภาพทุกครั้งจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการปรับค่าความ ไวแสงของฟิล์ม ให้ตรงกับค่าความไวแสงของฟิล์มที่เลือกใช้ เพื่อให้ได้ภาพที่มีสภาพของแสงที่สมบูรณ์ที่สุด

การทำงานของฟิล์ม
       หลังจากที่ฟิล์มถูกฉายแสง (Exposed to light) ในปริมาณที่พอเหมาะ ภาพของวัตถุจะถูกบันทึกไว้ในเยื่อไวแสงในลักษณะของภาพแฝง (Latent image) ซึ่งเป็นภาพที่ยังมองไม่เห็น จนกว่าจะนำไปผ่านกระบวนการล้างฟิล์ม เมื่อนำฟิล์มที่ผ่านน้ำยาสร้างภาพ (Developer) เฉพาะบริเวณฟิล์มที่ถูกแสงจะเปลี่ยนไป ทำให้เกิดภาพของเงินสีดำ ส่วนบริเวณฟิล์มที่ไม่ถูกแสงยังคงมีเงินเฮไลต์ ซึ่งยังคงไวต่อแสงอยู่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในน้ำยาสร้างภาพ ดังนั้นจึงต้องนำฟิล์มไปล้างต่อในน้ำยาคงสภาพ (Fixer) ที่จะทำให้ภาพคงตัว โดยมีไฮโปหรือโซเดียมไธโอซัลเฟตเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ
น้ำยานี้จะทำ ปฎิกริยากับเงินเฮไลต์ ทำให้เงินเฮไลต์หลุดออกมาจากฟิล์ม คงเหลืออยู่แต่ภาพเงินสีดำ ซึ่งเป็นภาพของวัตถุที่บันทึกมา ส่วนใดจะมีสีดำมากหรือน้อย ก็จะขึ้นอยู่กับปริมาณของแสงที่ได้รับมา ฉะนั้นลักษณะของภาพที่เกิดในฟิล์มจึงมีส่วนที่มีสีดำทึบบ้าง สีจางเป็นสีเทาบ้าง
ความเข้มของสีในฟิล์มนี้จะมีลักษณะกลับกันกับ วัตถุที่เป็นจริง เช่น ถ้าวัตถุมีสีดำ ในฟิล์มจะใสสว่างขาว และถ้าวัตถุมีสีขาว ในฟิล์มจะมีสีดำทึบ จึงเรียกฟิล์มนี้ว่า ฟิล์มเนกาทีฟ (Nagative) เมื่อนำฟิล์มนี้ไปอัดขยายบนกระดาษอัดภาพ จะได้สีที่ภาพกลับกันอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นภาพจริงเหมือนวัตถุที่ถ่ายมา เรียกว่า ภาพโพสิทีฟ (Positive)

วิวัฒนาการจากอดีตถึงปัจจุบัน





ผู้จัดทำ

ผู้จัดทำ

นาย วันชัย จงราช รหัสนักศึกษา 5504065383

เสนอ

อาจารย์ ดร.ศยามน   อินสะอาด

ECT 3503 การใช้สื่อการเรียนรู้
ภาคเรียนที่  2   ปีการศึกษา 2556